ประโยชน์และสรรพคุณของน้ำมันปลา (Fish Oils) ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

ข้อมูลตามงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด การขาดกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นสาเหตุการตายติดอันดับหนึ่งในสิบของประชากรอเมริกัน (ติดอันดับ 6) โดยอ้างว่ามีผู้เสียชีวิตถึงปีละ 96,000 คน การตายจากการขาดกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นเรื่องที่ป้องกันได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเสียใหม่และบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 มากขึ้น ซึ่งน้ำมันปลาเป็นแหล่งสำคัญของกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่เราๆท่านๆคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี

ประโยชน์ของน้ำมันปลามีตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบตั้งแต่การช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ อัมพฤกษ์ ลดภาวะซึมเศร้า ความดันโลหิตสูง สมาธิสั้น ปวดข้อ ข้ออักเสบ และโรคผิวหนังอักเสบ การบริโภคน้ำมันปลายังส่งผลดีต่อการลดน้ำหนัก มีบุตรยาก และหญิงตั้งครรภ์ กระทรวงสาธารณสุขของอเมริกาอนุญาตให้ใช้น้ำมันปลาเป็นยาที่ช่วยลดไขมันชนิดไม่ดีที่เรียกว่า “ไตรกลีเซอไรด์” ได้

น้ำมันปลาคืออะไร?

น้ำมันปลาได้จากเนื้อเยื่อของปลาที่มีไขมัน แหล่งที่ดีที่สุดคือ ทะเลน้ำลึก โดยเราสามารถบริโภคน้ำมันปลาได้ในรูปของอาหารโดยตรงหรือในรูปของอาหารเสริมที่เป็นน้ำมันปลาชนิดแคปซูลก็ได้

น้ำมันปลาเป็นแหล่งอันอุดมสมบูรณ์ของกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นแบบไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (PUFA = Poly Unsaturated Fatty Acid) โดยปกติแล้วร่างกายของมนุษย์เรามีความสามารถในการสร้างไขมันได้หลายชนิด แต่ไม่ใช่ในกรณีของโอเมก้า 3 ดังนั้น โอเมก้า 3 จึงได้ชื่อว่าเป็นกรดไขมันจำเป็น เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องได้รับจากการบริโภคผ่านอาหารหรืออาหารเสริมเท่านั้น

ในน้ำมันปลามีโอเมก้า 3 ที่สำคัญอยู่ 2 ชนิด คือ EPA(docosahexaenoic acid) และ DHA( eicosapentaenoic acid ) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบได้มากในปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาดีน และปลาทะเลอีกหลายชนิด โอเมก้า 3 จึงได้ชื่อว่าเป็นกรดไขมันที่ได้จากทะเล

ประโยชน์และสรรพคุณของน้ำมันปลา

ด้วยข้อมูลเกี่ยวกับน้ำมันปลาที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ผู้เขียนจึงได้รวบรวมและสรุปสรรพคุณหรือประโยชน์ของน้ำมันปลา ตามงานวิจัยและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีความน่าเชื่อถือเท่านั้น

ประโยชน์และสรรพคุณประสิทธิภาพความน่าเชื่อถือ (หลักฐานสนับสนุน)
ช่วยลดไตรกลีเซอรไรด์ลดได้มากสูง
แก้โรคซึมเศร้าแก้ได้ปานกลางสูง
โรคสมาธิสั้นในเด็กแก้ได้เล็กน้อยสูง
ความดันโลหิตสูงแก้ได้เล็กน้อยสูง
เพิ่มไขมันชนิดดี HDL-Cเพิ่มได้เล็กน้อยสูง
ลดการอักเสบลดได้เล็กน้อยปานกลาง
โรค SLE หรือโรคแพ้ภูมิตัวเองลดอาการได้ปานกลางสูง
ลดคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด)ลดได้เล็กน้อยต่ำ
โรคอารมณ์สองขั้วหรือไบโพล่าร์ลดได้เล็กน้อยสูง
โรควิตกกังวลลดได้เล็กน้อยสูง

ผลข้างเคียงของน้ำมันปลา

น้ำมันปลาดูเหมือนว่าจะปลอดภัยสำหรับคนส่วนมากที่บริโภคต่อวันไม่เกิน 3 กรัมหรือ 3,000 มิลลิกรัม เราควรต้องระวังการบริโภคน้ำมันปลาในกรณีที่บริโภคในโดสหรือปริมาณสูง คือ มากกว่า 3 กรัมต่อวันขึ้นไป เพราะอาจทำให้เกิดภาวะเลือดไม่แข็งตัวและส่งผลให้เกิดภาวะเลือดไหลไม่หยุด (bleeding) ได้

เราควรบริโภคน้ำมันปลาในปริมาณที่มากกว่า 3 กรัมต่อวัน ภายใต้การดูแลและคำแนะนำของแพทย์

น้ำมันปลาอาจมีผลข้างเคียงและอาจทำให้เกิดอาการต่อไปนี้ได้ เช่น จุกเสียดแน่นท้อง แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ ท้องเสีย ผื่นคันและเลือดกำเดาไหล การบริโภคน้ำมันปลาพร้อมมื้ออาหารจะช่วยลดผลข้างเคียงได้

การบริโภคน้ำมันปลาในรูปอาหารหรือจากปลาทะเลโดยตรงในปริมาณมากมีความเป็นได้ที่จะไม่ปลอดภัย เนื้อปลาทะเลอาจมีสารโลหะหนักและสารเคมีจากอุตสาหกรรมปนเปื้อน ในส่วนของน้ำมันปลาที่เป็นอาหารเสริมชนิดแคปซูล โดยปกติแล้วมักจะไม่มีสารปนเปื้อน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจอยู่พอสมควร เพราะกระทรวงสาธารณสุขของอเมริการะบุให้เด็กอายุตั้งแต่ 9 เดือนขึ้นไปและสตรีมีครรภ์สามารถบริโภคน้ำมันปลาในรูปแบบอาหารเสริมได้ โดยถือว่ามีความปลอดภัยต่อการบริโภคสูง ในทางตรงกันข้าม กลับมีคำเตือนให้ระมัดระวังการบริโภคน้ำมันปลาจากปลาทะเลหรือบริโภคในรูปอาหารจริง โดยถือว่ามีระดับความปลอดภัยต่ำ เพราะอาจมีโลหะหนักหรือสารเคมีปนเปื้อนอยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของเด็กและสตรีมีครรภ์และเด็กในท้องได้ในระยะสั้นและระยะยาว จึงได้มีการกำหนดตัวเลขปริมาณการทานปลาทะเลต่อสัปดาห์อย่างเป็นรูปธรรม

หากเราพิจารณากันแบบไม่มีความลำเอียงหรืออคติตามสามัญสำนึกของคนทั่วไป ก็อาจจะคิดได้แบบง่ายๆว่าข้อมูลมีความขัดแย้งในตนเอง เพราะถ้ามีโลหะหนักหรือสารเคมีปนเปื้อนในปลาทะเล ไขมันปลาหรือน้ำมันปลาก็ควรจะมีสารอันตรายดังกล่าวข้างต้นปนเปื้อนอยู่ใช่หรือไม่?

น้ำมันปลาอาจไม่เหมาะกับใครบ้าง?

ผู้ที่มีปัญหาโรคเบาหวานและมีปัญหาในการควบคุมน้ำตาล
ผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูงที่บริโภคยาลดความดันตามแพทย์สั่งอยู่แล้ว
ผู้ที่ติดเชื้อ HIV เพราะการบริโภคน้ำมันปลาในปริมาณสูงมาก อาจจะไปกดระบบภูมิคุ้มกันให้ต่ำลงจากที่ภูมิคุ้มกันต่ำอยู่แล้ว
ผู้ที่เคยผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายหัวใจ เพราะอาจจะทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติได้
ผู้ที่เคยแพ้ปลาทะเลหรือาหารทะเล

ยาที่ไม่ควรบริโภคร่วมด้วย

ยาที่เราควรหลีกเลี่ยงไม่ควรบริโภคร่วมกับน้ำมันปลา เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพและผลลัพธ์ที่ดีจากการบริโภคน้ำมันปลา

ยาเม็ดคุมกำเนิด

เนื่องจากน้ำมันปลามีสรรพคุณในการลดระดับไขมันที่เรียกว่า “ไตรกลีเซอไรด์” ในเลือด ยาเม็ดคุมกำเนิดอาจมีผลในการลดประสิทธิภาพการลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ของน้ำมันปลาได้

ยาลดความดันโลหิต

น้ำมันปลามีสรรพคุณในการลดความดันโลหิต การบริโภคน้ำมันปลาร่วมกับยาลดความดันโลหิตอาจเป็นสาเหตุให้ความดันโลหิตต่ำกว่าปกติได้

ยาลดความอ้วน (orilstat, xential, Alli)

กลไลการทำงานของยาลดความอ้วนคือการขัดขวางการดูดซึมไขมันเข้าสู่ร่างกายทางลำไส้ ดังนั้น การบริโภคน้ำมันปลาพร้อมๆกับยาลดความอ้วนอาจทำให้การดูดซึมน้ำมันปลาถูกขัดขวางและไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพื่อให้ได้ผลดีจากการบริโภคน้ำมันปลาจึงควรบริโภคห่างจากยาลดความอ้วนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

ยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้า

น้ำมันปลามีสรรพคุณในการทำเลือดแข็งตัวช้า การบริโภคร่วมกับยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้า จึงอาจทำให้เลือดแข็งตัวช้ายิ่งกว่าเดิม

คุณภาพของน้ำมันปลาและสิ่งที่ควรระวัง

ส่วนมากน้ำมันปลาจะถูกนำมาใช้บริโภคในรูปอาหารเสริม ยอดขายในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2009 มีสูงถึง 976 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของน้ำมันปลาและน้ำมันที่ได้จากสัตว์ทะเลถูกตรวจพบโดยนักวิทยาศาสตร์อิสระ ปัญหาต่างๆรวมถึงการปนเปื้อน การแสดงค่า EPA และ DHA ที่ไม่ตรงตามความจริงบนฉลาก การเน่าเสียและตำรับยา

สารปนเปื้อน

ปลาสามารถสะสมสารพิษ เช่น สารปรอท สารไดออกซินและสารโพลีคลอริเนตเตดไบฟีนิล(PCB) และน้ำมันปลาที่เสื่อมคุณภาพหรือเสียแล้วจะก่อให้เกิดสารเพอร์ออกไซด์ และมีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยที่จะเกิดการปนเปื้อนเชื่อจุลินทรีย์

สารปรอท

การบริโภคปลาหนึ่งครั้งอาจะมีสารปรอทปนเปื้อนอยู่ 10-1,000 ppb (ppb = parts per billion หมายถึง ส่วนต่อพันล้าน เช่น 1,000 ppb คือ หนึ่งพันส่วนต่อหนึ่งพันล้านส่วน) โดยปกติแล้วอาหารเสริมน้ำมันปลาอาจพบสารปรอทได้ 2-10 ppb

สารไดออกซินและ สารโพลีคลอริเนตเตดไบฟีนิลหรือสารพีซีบี (PCB)

สารไดออกซินหรือพีซีบีอาจเป็นสารก่อมะเร็งได้แม้มีอยู่ในร่างกายในระดับต่ำในระยะเวลาหนึ่ง สารพีซีบีจะอยู่สองชนิดคือ ไดออกซินที่เหมือนพีซีบีและสารพีซีบี อย.ของอเมริกายังไม่ได้กำหนดระดับที่ปลอดภัยของสารเหล่านี้ในอาหารเสริม แต่องค์กรระดับโลกอย่าง GOED (Global Organization for EPA and DHA หรือโกด) ได้กำหนดไว้ว่าต้องน้อยกว่า 3 พิโคกรัมต่อน้ำมันปลา 1 กรัม (1 พิโคกรัม = หนึ่งส่วนล้านล้านกรัม 3 พิโคกรัม จึงเป็นค่าที่น้อยมาก และสื่อให้เห็นว่าสารพีซีบีมีอันตรายต่อสุขภาพมากๆ) ในปี 2012 ตัวอย่างอาหารเสริมน้ำมันปลาถูกนำมาทดสอบเพื่อหาสารพีซีบี สารพีซีบีถูกตรวจพบในอาหารเสริมน้ำมันปลาทั้งหมด และมีเพียงสองยี่ห้อที่เกินมาตราฐานของโกด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการตรวจพบสารพีซีบีในน้ำมันปลาทุกชนิด แต่ ConsumerLab.com (เป็นบริษัทเอกชนที่คอยตรวจสอบคุณภาพของอาหารเสริมและยาหลายชนิดในสหรัฐอเมริกา) ได้ออกมากล่าวอ้างว่า ปริมาณสารพีซีบีที่พบในน้ำมันปลา ก็ยังมีปริมาณน้อยกว่าสารพีซีบีที่พบได้ในปลาจริงๆมาก

การเน่าเสีย

สารเพอริออกไซด์จะเกิดขึ้นเมื่อน้ำปลาเน่าเสีย การศึกษาและวิจัยโดยรัฐบาลประเทศนอร์เวย์ ปัญหาสุขภาพอาจเกิดขึ้นได้หากบริโภคน้ำมันปลาที่เสื่อมคุณภาพหรือเน่าเสียเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการมีลมในท้องหรือระบบทางเดินอาหาร แต่ก็ไม่สามารถระบุความเสี่ยงออกมาเป็นตัวเลขที่แน่ชัดได้ คุณภาพของน้ำมันปลาจะขึ้นอยู่กับวัตถุดิบ กระบวนการสกัดน้ำมัน การกรอง การทำให้เข้มข้น การบรรจุแคปซูล การเก็บรักษาและการขนส่ง ConsumerLab.com ได้ทำการทดสอบน้ำมันปลาและพบว่า มีน้ำมันปลาเน่าเสียอยู่จริง จากกลุ่มตัวอย่างที่นำมาทดสอบ

ปริมาณ EPA และ DHA

ตามข้อมูลของแล็บทดสอบอิสระแห่งหนึ่งพบว่า ปริมาณของ EPA และ DHA ในน้ำมันปลามีอยู่ประมาณ 8-80% ของน้ำหนัก ปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของกรดไขมันโอเมก้า 3 น้ำมันปลาถูกผลิตอย่างไร? และส่วนผสมชนิดอื่นที่ผสมอยู่ในอาหารเสริมน้ำมันปลา ในปี 2012 ComsumerLab.com ได้กล่าวอ้างว่า 4 ใน 35 ยี่ห้อของอาหารเสริมน้ำมันปลา มีปริมาณของ EPA และ DHA น้อยกว่าที่แสดงข้อมูลบนฉลากและ 3 ใน 35 ยี่ห้อของอาหารเสริมน้ำมันปลามีปริมาณ EPA และ DHA มากกว่าข้อมูลที่แสดงบบนฉลาก

แคปซูลที่บรรจุ

อาหารเสริมน้ำมันปลาผลิตออกมาในหลายรูปแบบ รูปแบบที่พบได้มากที่สุดคือ ชนิดเม็ดหรือชนิดบรรจุแคปซูล เนื่องจากผลข้างเคียงอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยของผู้บริโภคน้ำมันปลา คือ อาการท้องอืดและเรอเป็นกลิ่นปลา (Fish Burps) ผู้ผลิตจึงแก้ปัญหาด้วยการทำน้ำมันปลาชนิดแคปซูลหรือชนิดเม็ดแบบพิเศษที่มีชื่อเรียกว่า encentric coated pills โดยแคปซูลหรือเม็ดชนิดพิเศษนี้จะละลายเมื่อตัวยาเข้าสู่ช่วงต้นของลำไส้เล็ก เพื่่อป้องกันการเกิดอาการท้องอืด (ถ้าละลายในกระเพาะอาหารเลยจะทำให้ท้องอืดได้ง่าย) อย่างไรก็ตาม จากการทดสอบของ ConsumerLab.com ในปี 2010 พบว่า 1 ใน 24 ยี่ห้อของอาหารเสริมน้ำมันปลาที่อ้างว่าเป็นแคปซูลพิเศษละลายในกระเพาะอาหาร ซึ่งไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการท้องอืดตามที่โฆษณาไว้

น้ำมันปลาที่ต้องสั่งโดยแพทย์

น้ำมันปลาบางชนิดต้องสั่งโดยแพทย์หรือมีใบรับรองจากแพทย์ถึงจะซื้อมาใช้ได้ โดยน้ำมันปลาเหล่านี้จะมีปริมาณความเข้มข้นของ EPA และ DHA มากเป็นพิเศษบางยี่ห้อสูงถึง 84% ของน้ำหนักแคปซูลเลยก็มี

อันตรายหรือข้อเสียของน้ำมันปลา

สิ่งที่อาจจะเป็นอันตรายจากการบริโภคน้ำมันปลา มีดังต่อไปนี้

วิตามิน

น้ำมันปลาที่สกัดจากตับปลาจะมีวิตามินเอในรูปที่ร่างกายนำไปใช้ได้ทันทีด้วย การบริโภคน้ำมันปลาจึงต้องระมัดระวังปริมาณวิตามินเอที่ร่างกายจะได้รับ เพราะวิตามินเอหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้เกิดภาวะพิษจากวิตามินเอ (HyperVitaminosis A) ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย

สารพิษจากมลภาวะ

เรื่องมลภาวะกับน้ำมันปลาที่น่าสนใจ

การบริโภคน้ำมันปลาควรระมัดระวังเรื่องสารโลหะหนักและมลภาวะที่ละลายไขมันได้อย่างเช่น สารพีซีบีและไดออกซิน ซึ่งเกิดการสะสมตามรูปแบบของห่วงโซ่อาหาร (ดังนั้น ปลาใหญ่ที่กินปลาเล็กเป็นอาหารจะมีสารพิษสะสมในร่างกายมากที่สุด เช่น ปลาฉลาม) หลังจากที่มีการทดสอบเพิ่มเติมโดยมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดและตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมทางการแพทย์อเมริกันปี 2006 พบว่าโดยปกติแล้วประโยชน์ของน้ำมันปลามีมากมายจนเราอาจมองข้ามเรื่องความเสี่ยงจากมลภาวะได้

อาหารเสริมน้ำมันปลาถูกตรวจสอบอย่างละเอียดในปี 2006 โดยตัวแทนตรวจสอบมาตราฐานอาหารประเทศสหราชอาณาจักรและผู้ตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารจากประเทศไอร์แลนด์ พบว่าระดับของสารพีซีบีเกินกว่าค่ามาตราฐานสูงสุดในอาหารเสริมน้ำมันปลาหลายยี่ห้อ ส่งผลให้น้ำมันปลาที่ไม่ผ่านมาตราฐานดังกล่าว ถูกถอนออกไปจากตลาดเป็นการชั่วคราว ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับปริมาณสารพิษในน้ำมันปลาที่เกินมาตราฐาน หน่วยงานที่ชื่อ IFOS (International Fish Oil Standard) ที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของน้ำมันปลา จึงถูกจัดตั้งขึ้นในประเทศแคนาดา

ในเดือนมีนาคม ปี 2010 มีการฟ้องร้องกันในศาลโดยกลุ่มรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งแคลิฟอเนียร์ได้กล่าวอ้างว่า มีอาหารเสริมน้ำมันปลา 8 ยี่ห้อที่มีระดับของสารพีซีบีเกินมาตราฐาน อาหารเสริมน้ำมันปลาที่ถูกฟ้องร้องนั้นส่วนมากผลิตจากตับปลาคอดและตับปลาฉลาม โดยให้ข้อมูลสนับสนุนว่า ตับเป็นอวัยวะที่ใช้กำจัดสารพิษ น้ำมันปลาที่ผลิตจากตับย่อมมีโอกาสที่จะมีสารพีซีบีสูงกว่าน้ำมันปลาที่ผลิตจากปลาทั้งตัว

การวิเคราะห์ข้อมูลของสถาบัน NOWAC (Norwegian Woman and Cancer Study) เรืองการบริโภคตับปลาคอด ได้ข้อสรุปว่า ในสตรีชาวนอร์เวย์ การบริโภคตับปลาไม่เกียวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในทางตรงกันข้าม กลับเป็นการลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งชนิดต่างๆ

คณะแพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดได้รายงานว่า อาหารเสริมน้ำมันปลายอดนิยมในอเมริกา 5 ยี่ห้อ ที่ระบุในฉลากว่า “ปลอดจากสารปรอท” ซึ่งหมายความว่า สารปรอทได้ถูกกรองออกไปในกระบวนการผลิตน้ำมันปลาหรือแหล่งของปลาที่นำมาผลิตน้ำมันปลาปลอดภัยจากสารปรอท