ความดันโลหิตสูง การรักษาและบำบัดความดันโลหิตสูงแบบธรรมชาติ
ความดันโลหิตสูงคืออะไร ความดันโลหิต คือ แรงดันของเลือดที่กระทำต่อผนังหลอดเลือด ท่านผู้อ่านลองนึกถึงภาพของน้ำที่ไหลผ่านท่อเปรียบเทียบกับเลือดที่ไหลผ่านเส้นเลือด ตลอดระยะทางที่ไหลผ่านจะมีแรงกระทำต่อท่อหรือหลอดเลือดตลอดเวลา โดยค่าความดันโลหิตจะมีอยู่ 2 ค่า คือ ความดันซิสโตลิค (Systolic) เป็นความดันค่ามากหรือค่าบน เพราะเป็นความดันที่หัวใจอยู่ในจังหวะบีบตัว ความดันไดอะสโตลิค (Diastolic) เป็นความดันค่าน้อยหรือค่าล่าง เพราะเป็นความดันที่หัวใจอยู่ในจังหวะคลายตัว คำว่าความดันโลหิตสูง (Hypertension หรือ High Blood Pressure) คือภาวะที่เลือดมีความดันสูงกว่ามาตราฐาน คือ ค่าบน 90-119 mmHg (หรือมิลลิเมตรปรอท) ค่าล่าง 60-79 mmHg (หรือมิลลิเมตรปรอท) ระดับของความดันโลหิตสูง ระดับปกติ (Normal) ค่าบน 90-119 mmHg (หรือมิลลิเมตรปรอท) ค่าล่าง 60-79 mmHg (หรือมิลลิเมตรปรอท) ระดับเริ่มต้น (Prehypertension) ค่าบน 120-139 mmHg (หรือมิลลิเมตรปรอท) ค่าล่าง 80-89 mmHg (หรือมิลลิเมตรปรอท)…
มะพร้าว มีสรรพคุณหรือประโยชน์มากกว่าที่เรารู้
เนื้อมะพร้าว มะพร้าวได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งอาหาร มะพร้าวถูกใช้เป็นอาหารเพื่อความมีอายุยืนและใช้เป็นยาในการบำรุงรักษาสุขภาพ คนสมัยโบราณเชื่อว่า การบริโภคมะพร้าวเป็นเคล็ดลับของการมีสุขภาพดีและมีอายุยืน เนื้อมะพร้าวแก่หรือลูกมะพร้าวที่โตเต็มที่จะมีเนื้อค่อนข้างแข็ง สีขาว มีรสหวานเล็กน้อยบวกกับรสชาติที่คล้ายถั่ว สำหรับมะพร้าวอ่อนจะมีรสหวาน เนื้อนุ่มกว่ามากคล้ายกับเยลลี่หรือเจลาติน เราสามารถใช้ช้อนตักกินเนื้อมะพร้าวอ่อนได้ บ่อยครั้งที่มะพร้าวอ่อนถูกใช้เป็นอาหารสำหรับทารกหรือเด็กเล็ก เพื่อเสริมหรือทดแทนการดื่มน้ำนมแม่ เนื้อมะพร้าวแก่จะมีความแข็งและหนาตามอายุของมัน มะพร้าวอ่อนจะบูดหรือเสียได้ง่าย ดังนั้น สมัยก่อนในประเทศที่ไม่ค่อยมีต้นมะพร้าว จะมีโอกาสน้อยมากที่จะได้บริโภคมะพร้าวอ่อน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ด้วยการขนส่งที่ทันสมัยและระบบการรักษาความสดของอาหารที่พัฒนาไปไกล ทำให้ประชากรในประเทศที่ไม่ค่อยมีต้นมะพร้าว สามารถหาซื้อและบริโภคมะพร้าวอ่อนได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก อาหารที่เป็นยา เนื้อมะพร้าวมีสรรพคุณหรือคุณสมบัติทางยาคล้ายกับน้ำมันมะพร้าว มากกว่าที่จะเป็นเพียงอาหารทั่วไปเท่านั้น เหตุผลเนื้อมะพร้าวแก่มีคุณสมบัติทางยาคล้ายกับน้ำมันมะพร้าวก็เพราะว่า เราสกัดน้ำมันมะพร้าวจากเนื้อมะพร้าวนั่นเอง 34% โดยน้ำหนักของเนื้อมะพร้าวจะเป็นน้ำมันหรือไขมัน การสกัดน้ำมันมะพร้าวจากเนื้อมะพร้าวจึงทำให้ได้น้ำมันในปริมาณมาก เนื้อมะพร้าวสดประกอบไปด้วยน้ำ 47% หลังจากที่ตากแห้งแล้วจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณ 3% เท่านั้น เนื้อมะพร้าวตากแห้งจะมีน้ำมันเป็นส่วนประกอบในสัดส่วนที่มากขึ้น คือ ประมาณ 64% ดังนั้น การบริโภคเนื้อมะพร้าวไม่ว่าจะแบบสดหรือแบบแห้งก็ช่วยเพิ่มไขมันชนิดดีให้ร่างกายได้ทั้งนั้น composition of coconut table ต่างจากน้ำมะพร้าว ส่วนประกอบหลักของเนื้อมะพร้าวคือ ใยอาหาร(Fiber) และไขมัน (Fat) การบริโภคเนื้อมะพร้าวโดยตรงจะดีกว่าน้ำมันมะพร้าวนิดหน่อยตรงที่ได้ใยอาหารด้วย (แต่ส่วนมากจะกินกันเยอะๆไม่ค่อยไหว เพราะเนื้อมะพร้าวทานแล้วอิ่มไวและอิ่มนานครับ) สารอาหารที่เรียกว่า…
น้ำมันมะพร้าว สรรพคุณและประโยชน์ตามงานวิจัย
งานวิจัยทางคลินิก (คำว่าทางคลินิกคือ มีการทดลองในคนจริงๆ) แสดงให้เห็นว่ากรดไขมันอิ่มตัวความยาวปานกลางในน้ำมันมะพร้าว มีส่วนช่วยและรักษาอาการหรือโรคชนิดต่างๆได้ ดังต่อไปนี้ ป้องกันโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ไขมันอุดตันเส้นเลือด และโรคอัมพฤกษ์จากเส้นเลือดในสมองตัน ตีบหรือแตก ป้องกันและบรรเทาโรคเบาหวานและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยลดน้ำหนักส่วนเกิน ฆ่าเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบซี ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัสโรคหัด ไวรัสโรคเริม ไวรัสเอดส์ และไวรัสก่อโรคชนิดอื่น ลดอาการของโรคที่เกียวข้องกับตับอ่อน ลดปัญหาของโรคการดูดซึมอาหารทางลำไส้ไม่ปกติ บรรเทาอาการของโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ ลดอาการที่เกียวข้องกับโรคทางเดินอาหารอักเสบโครนห์ ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังและโรคกระเพาะอาหาร บรรเทาความเจ็บปวดและระคายเคืองที่เกิดจากโรคริดสีดวงทวารหนัก ลดการอักเสบเรื้อรัง ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ป้องกันโรคเหงือกอักเสบและฟันผุ ป้องกันภาวะแก่ก่อนวัยและโรคที่เกิดจากความเสื่อม บรรเทาอาการอ่อนล้าเรื้อรัง บรรเทาอาการต่อมลูกหมากโต ลดภาวะการเกิดโรคลมชัก ป้องกันการติดเชื่อในไตและทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการเกิดโรคตับ ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์คินสัน โรคออทิสติกและโรคที่เกี่ยวข้องความผิดปกติของระบบประสาท ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคปอดบวม โรคปวดหู โรคติดเชื้อที่ลำคอ แบคทีเรียในช่องปาก อาหารเป็นพิษ การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ฆ๋าเชื้อราที่เป็นสาเหตุของตกขาวที่เกิดจากเชื้อรา โรคสังคัง กลาก น้ำกัดเท้า เชื้อราในช่องปาก ผื่นผ้าอ้อม และอื่นๆ ขับไล่และกำจัดพยาธิตัวตืด…
ประโยชน์และสรรพคุณของน้ำมันงาม่อน (Perilla seed oils) ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
น้ำมันงาม่อนคืออะไร? น้ำมันงาขี้ม่อน น้ำมันงาขี้ม้อน น้ำมันงาม่อน หรือน้ำมันงาม้อน (ในบทความนี้ผู้เขียนขอใช้คำว่า “งาขี้ม่อน” นะครับ) เป็นชื่อเรียกของน้ำมันชนิดหนึ่งที่สกัดจากเมล็ดพืชที่มีชื่อว่า “งาขี้ม่อน” ที่เป็นพืชตระกูลเดียวกับสะระแหน่หรือมิ้นต์ เมล็ดงาขี้ม่อนมีส่วนประกอบของน้ำมัน 38-45% ของน้ำหนักเมล็ด ซึ่งถือว่ามีปริมาณน้ำมันค่อนข้างสูง การสกัดน้ำมันจึงนิยมสกัดจากเมล็ดเป็นหลัก น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดงาขี้ม่อน จะมีสีเหลืองทอง มีกลิ่นหอมและมีรสชาติเฉพาะตัว ดังนั้น หากใครเคยได้ทดลองทานน้ำมันงาขี้ม่อนแล้วครั้งแรก ถ้ามีโอกาสได้ทานครั้งต่อๆไปจะจำกลิ่นและรสชาติได้อย่างแน่นอน น้ำมันงาขี้ม่อนสกัดอย่างไร? การสกัดน้ำมันงาขี้ม่อนทั่วไปที่เราทำกันคือ การบดหรือการบีบ เพื่อให้น้ำมันไหลออกจากเมล็ด โดยมีกรรมวิธีบดหรือบีบที่แตกต่างกันไป ขึ้นกับเครื่องจักรที่ใช้ โดยมากในประเทศไทยการสกัดน้ำมันงาขี้ม่อนจะมีอยู่ 2 วิธี คือ การบดโดยใช้สกรู (Screw Press) เครื่องสกัดน้ำมันโดยใช้สกรู ประกอบไปด้วยสกรูที่มีลักษณะเป็นเกลียว สอดเข้าไปในตัวรับ เพื่อทำหน้าที่บดเมล็ดพืชให้ละเอียดและสกัดน้ำมันออกมา ท่านใดเคยเห็นเครื่องบดแบบทั่วๆไปก็อาจจะร้องอ๋อ เพราะทำงานในลักษณะเดียวกันครับ ข้อดีของการบดด้วยสกรู คือ เครื่องจักรไม่ซับซ้อนและง่ายต่อการสกัดน้ำมัน แต่จะมีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่ง คือ การบดมักจะทำให้เกิดความร้อนสูง หากตั้งเครื่องสกัดน้ำมันให้สกรูและตัวรับมีช่องว่างน้อยเกินไป ซึ่งจะมีผลกระทบต่อคุณค่าทางอาหารของน้ำมันที่ได้ เพราะน้ำมันงาขี้ม่อนมีส่วนประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ตัวกรดไขมันไม่อิ่มตัวทำปฏิกิริยากับความร้อนได้ง่าย ส่งผลให้น้ำมันสูญเสียคุณค่าทางอาหารและเสื่อมคุณภาพลงได้ การบีบโดยใช้ระบบไฮโดรลิก (Hydraulic press)…
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรดไขมันโอเมก้า 3 ตามงานผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
กรดไขมันโอเมก้า 3 คืออะไร? โอเมก้า 3 จัดเป็นสารอาหารที่ผู้เขียนเชื่อว่าหลายๆท่านคงเคยได้ยินหรือคุ้นหูกันมากที่สุดชนิดนึง เพราะโฆษณาตามสื่อต่างๆมักเน้นย้ำหรือให้ความสำคัญว่า “ผลิตภัณฑ์ของเรามีโอเมก้า 3 ช่วยในการบำรุงประสาทและสมอง ช่วยเพิ่มการเรียนรู้ให้กับเด็กหรือลูกหลานของท่าน” อะไรทำนองนี้ โอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันจำเป็นไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งชนิดหนึ่ง (PUFA = Polyunsaturated Fatty Acid) คำว่าไม่อิ่มตัวหลายท่านอาจสงสัย ว่าคืออะไร? ที่มาที่ไปมาจากโครงสร้างทางเคมี ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆก็คือ มีพันธะคู่ในโครงสร้างทางเคมีหลายตำแหน่ง (ถ้ามีพันธะคู่ในโครงสร้างทางเคมีตำแหน่งเดียวจะเรียกว่า Monounsaturated Fatty Acid หรืดกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว) ส่วนคำว่าจำเป็นในที่นี้หมายถึง มนุษย์เรามีความต้องการกรดไขมันโอเมก้า 3 ในการดำรงชีวิต แต่ไม่สามารถสร้างกรดไขมันชนิดนี้เองได้ ต้องได้รับจากการบริโภคอาหารหรืออาหารเสริมเท่านั้น (กรดไขมันโอเมก้า 6 ก็เป็นกรดไขมันจำเป็น แต่จะไม่ได้กล่าวถึงมากนักในบทความนี้) ชนิดของกรดไขมันโอเมก้า 3 กรดไขมันโอเมก้า 3 มีอยู่ 3 ชนิดดังต่อไปนี้ คือ ALA (Alpha Linolenic Acid อ่านว่า อัลฟ่าไลโนเลนิคแอซิด) พบได้มากในน้ำมันพืชชนิดต่างๆ…
ประโยชน์และสรรพคุณของน้ำมันปลา (Fish Oils) ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
ข้อมูลตามงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด การขาดกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นสาเหตุการตายติดอันดับหนึ่งในสิบของประชากรอเมริกัน (ติดอันดับ 6) โดยอ้างว่ามีผู้เสียชีวิตถึงปีละ 96,000 คน การตายจากการขาดกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นเรื่องที่ป้องกันได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเสียใหม่และบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 มากขึ้น ซึ่งน้ำมันปลาเป็นแหล่งสำคัญของกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่เราๆท่านๆคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ประโยชน์ของน้ำมันปลามีตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบตั้งแต่การช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ อัมพฤกษ์ ลดภาวะซึมเศร้า ความดันโลหิตสูง สมาธิสั้น ปวดข้อ ข้ออักเสบ และโรคผิวหนังอักเสบ การบริโภคน้ำมันปลายังส่งผลดีต่อการลดน้ำหนัก มีบุตรยาก และหญิงตั้งครรภ์ กระทรวงสาธารณสุขของอเมริกาอนุญาตให้ใช้น้ำมันปลาเป็นยาที่ช่วยลดไขมันชนิดไม่ดีที่เรียกว่า “ไตรกลีเซอไรด์” ได้ น้ำมันปลาคืออะไร? น้ำมันปลาได้จากเนื้อเยื่อของปลาที่มีไขมัน แหล่งที่ดีที่สุดคือ ทะเลน้ำลึก โดยเราสามารถบริโภคน้ำมันปลาได้ในรูปของอาหารโดยตรงหรือในรูปของอาหารเสริมที่เป็นน้ำมันปลาชนิดแคปซูลก็ได้ น้ำมันปลาเป็นแหล่งอันอุดมสมบูรณ์ของกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นแบบไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (PUFA = Poly Unsaturated Fatty Acid) โดยปกติแล้วร่างกายของมนุษย์เรามีความสามารถในการสร้างไขมันได้หลายชนิด แต่ไม่ใช่ในกรณีของโอเมก้า 3 ดังนั้น โอเมก้า 3 จึงได้ชื่อว่าเป็นกรดไขมันจำเป็น เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องได้รับจากการบริโภคผ่านอาหารหรืออาหารเสริมเท่านั้น…
ประโยชน์และสรรพคุณของงาม่อน วิธีกินเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด
งาม่อนคืออะไร? งาม่อนเป็นพืชตระกูลมิ้นต์ (ตระกูลเดียวกับสะระแหน่) ทีมีฤทธิ์หรือสรรพคุณทางยา เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุประมาณ 1 ปี ่ขอบใบมีลักษณะคล้ายฟันเลื่อย กิ่งเป็นสี่เหลี่ยม ใบมีได้หลายสี เช่น สีเขียวจนถึงสีเขียวเข้ม สีม่วงและสีแดง ขึ้นกับสายพันธุ์ ดอกเป็นสีขาวจนถึงสีม่วง เมล็ดมีทั้งแบบแข็งและแบบอ่อน มีสีขาว เทา น้ำตาลและน้ำตาลเข้ม งาม่อนเป็นพืชที่พบได้ในมากในทวีปเอเชีย เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ไทย ลาว เวียดนาม อินเดีย งาม่อนเป็นพืชที่มีกลิ่นและรสเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงได้รับความนิยมในการใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหารชนิดต่างๆตามวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ เนื่องด้วยงาม่อนมีสารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์หลายชนิด จึงถูกนำไปใช้ทำยาสมุนไพรรักษาโรคในหลายรูปแบบตามแบบแผนของแพทย์ประเภทนั้น ชื่อเรียกงาม้อน งาม่อน งาม้อน งาขี้ม้อน งาขี้ม่อน ประโยชน์และสรรพคุณของงาม่อนโดยรวม งาม่อนกับการใช้ทำอาหาร ประเทศจีน ในตำรับอาหารของชาวแมนจู ประเทศจีน ใช้ใบงาม่อนในการทำหมั่นโถว (Steamed perilla bun) โดยทำจากข้าวฟ่างที่มีความเหนียว (glutinous sorghum) หรือแป้งข้าวฟ่าง ปั้นเป็นแป้งโด ใส่ด้วยไส้ถั่วแดงและห่อด้วยใบงาม่อน โดยอาหารชนิดนี้มีความเกี่ยวข้องกับ วันถอนรากถอนโคนอาหาร (Food…